google7b0d811cf630d6e9.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรงเรือนระบบอีแว๊ปรวมถึงการออกแบบโรงเรือน

โรงเรือนระบบอีแว๊ป (Evaporative cooling system) 

 
















บทความนี้ไว้แบ่งปันความรู้กันครับ 

ถ้าถูกใจ ฝากกดติดตาม FB แฟนเพจด้วยนะครับ >>>>    คลิ๊ก 
(อยากรู้จักเราเข้ามาส่องดูผลงานได้ครับ !! )

                     ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักโรงเรือนอีแว๊ปในเรื่องการลดอุณหภูมิอากาศ หรือจากการใช้พัดลมไอเย็นตามบ้าน ทั้งนี้ถ้าพูดถึงทฤษฎีคงต้องหาหนังสือ Thermodynamic มาอ่านกันซึ่งในที่นี้ผมจะพูดถึงส่วนสำคัญๆ องค์ประกอบหลักๆและทริคในการเลือกอุปกรณ์ในการติดตั้งรวมถึงการคำนวณหาจำนวนพัดลมง่ายๆ (ใครที่เคยโทรหาผมจะรู้ว่าผมแทบจะบอกจำนวนและราคาได้ทันที แบบมีที่มาที่ไปได้หมดและที่สำคัญผมจะแนะนำตามกำลังทรัพย์ในกระเป๋าลูกค้าไม่มีการยัดเยียดอุปกรณ์ที่เกินจำเป็นใดๆ )
โรงเรือนในทีนี้ หมายถึง โรงเรือนปลูกผัก โรงเรือนกัญชา โรงเรือนกรีนเฮาส์ โรงเรือนเลี้ยงไก่ โรงเรือนเลี้ยงหมู โรงเรือนเลี้ยงเป็ด ก็อยู่ในคําจํากัดความของโรงเรือนระบบอีแวปประเภทหนึ่งๆ 

เรามาเริ่มจากส่วนประกอบหลัก

1) โรงเรือน (House)
2) พัดลมดูดอากาศ (Exhaust Fan) 
3) แผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad)
4) ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature And Humidity Controller)

5) ปั๊มน้ำและถังเก็บน้ำ (Water Pump And Storage Tank)


โรงเรือน (House)

 
 
โครงสร้าง - ผนังต่างๆ มีทั้งแบบก่ออิฐ หรือ จะเป็นแบบผ้าพีวีซีใส ก็ได้ แต่ในส่วนของโครงสร้างที่เป็นเหล็กแนะนำให้ใช้เป็นหล็กชุบกัลวาไนซ์ ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศในสภาวะที่มีความชื้นสูง เช่นโรงเรือนอีแวป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยกำลังทรัพย์ นอกจากนี้ ให้ดูเรื่องความแข็งแรงด้วย ถ้าต้องสร้างโรงอีแวปในพื้นที่ ที่มีลมแรงเช่นภาคอีสาน ถ้าโรงเรือนเป็นแบบผ้า พีวีซี แนะนำ ควรใช้ผ้าที่ความหนาขั้นต่ำ 250 ไมคร่อน หรือ 0.25มม. เป็นอย่างน้อยนะครับ และสิ่งสำคัญลำดับต่อมา ตัวอาคารต้องเป็นระบบปิด คือ มีการควบคุมการถ่ายเทอากาศเข้า-ออก โดยที่อากาศเข้าทาง คูลลิ่งแพด Cooling pad และจะถูกดูดออกทางด้าน พัดลมดูดอากาศ (Exhaust Fan) โดยที่จะต้องไม่มีอากาศร้อนจากภายนอกเข้ามาผสมหรือเข้ามาตามหน้าต่างใดๆ ทริค - ถ้าเป็นโรงเรือนแบบทรงหลังคาใดๆก็ตามก็ควรทำฝ้าด้วย เพราะจะช่วยในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ/ความชื้น/ความเร็วลม ได้ดีกว่า รวมถึงประหยัดค่าไฟฟ้าด้วยเพราะปริมาตรห้องลดลงตามขนาดความสูงของฝ้า     

หลังคา - หลังคาโรงเรือนจะแบ่งตามแบบหลังคาจั่วหรือหลังคาโค้ง หรือจะแบ่งตามแบบหลังคาทึบแสงหรือโปรงแสง กันUV ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการสร้างว่าข้างในเราจะทำอะไร  แต่ถ้าจะทำโรงอีแวป แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องทำหลังคาทรง กอ ไก่  หลายคนอาจจะไม่รู้เหรือห็นแต่ในรูป หลังคาทรงนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ในระบบเปิดเพื่อระบายอากาศร้อนใต้หลังคา ซึ่งในความเป็นจริงระบบอีแวป จะไม่มีการระบายอากาศออกจากช่องทางอื่นเลย นอกจากระบายออกทางพัดลมดูด เพราะฉะนั้น ให้ไปใช้ทรงจั่วหรือโดมจะดีกว่า เพราะสร้างและดูแลง่ายกว่า อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว 

การวาง Lay Out - หลักการวางผังขั้นต้น 1) ประตู และช่องหน้าต่างไม่ควรอยู่ด้านเดียวกับ คูลลิ่งแพด หรือ พัดลมดูดอากาศ เพราะว่าจะทำให้เกิดจุดอับลมเย็น ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ 2) ด้านคูลลิ่งแพด ไม่ควรอยู่ทิศตะวันตก อันนี้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำความเย็นโดยตรง เพราะอากาศทางเข้าจะมีอุณหภูมิสูง การที่จะลดอุณหภูมิได้ต่ำลงก็จะยากกว่าทิศอื่นๆ 3) ในการติดตั้งพัดลม ควรอยู่ระนาบตรงข้ามคูลลิ่งแพด เท่านั้น เพราะจะทำให้การทำงานของระบบอีแวป เต็มประสิทธิภาพที่สุด  4) การวางชั้น Shelf ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรวางขวางระนาบลม หน้าพัดลม ควรเว้นไว้เป็นช่องเพื่อที่พัดลมดูดอากาศ จะสามารถดึงลมเย็นหน้าก้อนแพดมาถึงด้านหลังโรงเรือนได้ 


พัดลมดูดอากาศ/พัดลมโรงงาน/ พัดลมอุตสาหกรรม/ พัดลมอีแว๊ป (Exhaust Fan)

 
        พัดลมดูดอากาศ ถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบเลยก็ว่าได้ ถ้าเลือกพัดลมผิดประเภทนอกจากใช้งานไม่ได้จริงก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้า
 
หลักการเลือกซื้อ

1) แรงดันไฟฟ้าเป็นแบบไหน 220V (ไฟบ้าน ) หรือ 380V (ไฟโรงงาน)
2) ต้องการขับด้วยมอเตอร์ หรือ เครื่องยนต์ฉุด 

โคลงสร้างพัดลมประกอบไปด้วย
 
-โคลงพัดลม  เป็น เหล็กชุบกัลวาไนซ์ 
-ชุดหน้าแปลนใบพัด  ใบพัด เป็นสแตนเลส 304  หรือ ใบพัดไฟเบอร์กลาส 
-ชัตเตอร์เปิด-ปิด 
-มอเตอร์ขับ เลือกได้ว่าต้องการเกรดไหน 
 
พัดลมอีแว๊ปที่ทางบริษัทจำหน่ายจะมีตั้งแต่ 36-50นิ้ว เป็นรุ่น 6ใบพัดสแตนเลส โครงเป็นเหล็กชุบกัลวาไนซ์ ระบบไฟฟ้ามีให้เลือกได้ทั้ง 220V และ 380V  มอเตอร์มีให้เลือกหลายรุ่น แต่สิ่งที่อยากจะแนะนำที่หลายๆคนไม่รู้คือ เรื่องค่า IP มอเตอร์ มอเตอร์ที่มักใช้ในระบบอีแว๊ป ควรจะมีค่าIP ตั้งแต่ 54 ขึ้นไป

สนใจพัดลม 50นิ้ว
  >>> ดูรายละเอียด คลิ๊ก

เพราะหลายๆครั้งลูกค้าที่ซื้อพัดลมจากที่อื่นขอคำปรึกษาเรื่องมอตอร์กับพบว่ามอเตอร์ที่ติดมามีค่า IP20กันเลยทีเดียว ซึ่มไม่สามารถกันความชื้นใดๆได้เลยซึ่งผลที่ตามมาคือมอเตอร์พังแบบไม่มีสาเหตุ !! 
 


แผ่นคูลลิ่งแพด/เยื่อกระดาษ/แผ่นรังผึ้ง (Cooling Pad)

 
 
 
         แผ่นคูลลิ่งแพด AGB (Cooling pad AGB)ถือว่าเป็นพระเอกของเรื่อง ระบบอีแว๊ป ซึ่งประเภทของคูลลิ่งแพด แบ่งหลักๆ ได้ตาม ขนาด/แกรมกระดาษ/น้ำหนัก/ชนิดของกระดาษ/มุมองศา ในการเลือกซื้อ นอกจากราคาแล้ว ควรพิจารณาถึง ความน่าเชื่อถือ ของผู้ขาย (อันนี้สำคัญมากในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกค้า) ซึ่งเวลาลูกค้าถามผมว่าจะใช้ คูลลิ่งแพดแบบไหน ผมจะแนะนำลูกค้าว่าอันดับแรก "ราคาไม่ใช่คำตอบเสมอไป !! แพดคุณภาพดี ราคาจะไม่ถูก ส่วนแพดถูกๆ จะใช้ไม่ได้นาน" ไม่มีใครอยากใช้ของด่อยคุณภาพถูกต้องมั้ย ทุกคนต้องการสินค้าที่ราคาสมเหตุสมผล ถ้าคุณคาดหวังของคุณภาพดี คุณต้องสู้ราคา แต่ๆๆ ปกติผมจะถามก่อนว่าน้ำที่ใช้คุณเป็นน้ำอะไร ? มี น้ำประปา /น้ำบ่อ / น้ำบาดาล ซึ่ง 2 อันดับแรก น้ำที่ใช้ถือว่าคุณภาพดี ผมแนะนำ AGB Cooling pad  คูลลิ่งแพด รุ่นเกรด ฟินแลนด์ 2.4kg (30*180*15cm) เพราะ ถ้าในเรื่องอายุการใช้งานจะใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 5ปี  เรื่องความชื้น ทำความชื้นได้ถึง 90%RH และที่สำคัญจะไม่มีโรค โก่ง งอ ยุบ !! อันเป็นโรคนิยมของคูลลิ่งแพด ราคาถูก และถ้าสุดท้ายน้ำที่ใช้เป็นแบบบาดาล ผมจะแนะนำ  AGB Cooling pad คูลลิ่งแพด รุ่นเกรด กระดาษจีน 1.9 kg (30*180*15cm)  เพราะน้ำที่มีหินปูนไม่ว่าแพดจะเกรดดียังไง มันจะตันก่อนทุกที แต่ๆๆ ก็ยังมีเรื่องที่สำคัญคือ จะต้องใช้ได้อย่างน้อย 2-3ปี นะครับ ซึ่งในตลาดผมบอกได้เลยว่า คูลลิ่งแพด เกรด 1.6-1.7 kg. มันก็มี !! ซึ่งมีผลต่ออายุการใช้งาน และความเย็นที่ทำได้ในระบบ แน่นอนทางบริษัทเราไม่มีการจำหน่าย รุ่นพวกนี้แน่นอน ครับ 
*ในส่วนของคูลลิ่งแพดชุบดำ หรือชุบผิว/เคลือบผิว อันนี้ผมจะไม่เน้นนะครับ เพราะในตลาดโรงเรือนอีแว๊ปแล้ว ความต้องการหลักคือเรื่องการลดอุณหภูมิ กับ การทำความชื้นที่ได้ ซึ่งจุดประสงค์ของคูลลิ่งแพดแบบชุบผิวคือ การเพิ่มความคงทนของอายุการใช้งาน ซึ่งจะต้องแลกกับพื้นที่ผิวในการซับน้ำของเยื่อกระดาษ ผลที่ได้รับคือ อุณหภูมิ กดไม่ลงเท่า คูลลิ่งแพด รุ่นกระดาษธรรมดา(ฺBrown) เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อเราต้องรู้ก่อนว่า อยากได้อะไร แต่ส่วนใหญ่โรงเรือนอีแว๊ป มักจะเลือกเรื่องการ ลดอุณหภูมิเป็นหลัก 
 ซึ่งถ้าทางลูกค้าสนใจรุ่นชุบผิว ทางผมก็มีจำหน่ายนะครับ สนใจแบบไหนติดต่อได้เลย    



ตู้คอนโทรล และ ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature And Humidity Controller) 

 
 
หลักๆ เราจะแยก เป็น 2 ส่วน
1) ระบบป้องกันไฟฟ้าขัดข้อง หรือ ตู้คอนโทรล / ตู้แม็กเนติกโอเวอร์โหลด  หน้าที่หลักคือช่วยป้องกันสภาวะความผิดปกติของมอเตอร์  เช่นการกินกระแสเกินผิดปกติ อันเนื่องมาจากแรงดันไฟฟ้าตก หรือ ไฟฟ้าบางเฟสเกิดขัดข้อง ปัญหาเหล่านี้แม้เกิดเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้มอเตอร์ที่ขับพัดลมและปั๊มน้ำเสียหายได้เลย ซึ่งส่งผล ต่อผลผลิตโดยตรง ส่วนเรื่อง ราคาก็แล้วแต่  Option ในการใช้งานส่วนใหญ่เวลาสั่งประกอบต้องคุย รายละเอียดกันก่อน และทางบริษัทก็รับออกแบบตู้คอนโทรลระบบอีแว๊ปตามความต้องการของลูกค้าด้วยนะครับ  
2) ระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ผ่านเซ็นเซอร์ หรือเราจะเรียกว่า  Temperature And Humidity Controller  ซึ่งมีให้เลือกหลาย option มากๆ หลักๆ ที่ทางบริษัท เราจำหน่ายจะเป็นรุ่น AGB 904 (ขายดีมาก) ควบคุมพัดลม 9 จุด ปั๊มน้ำ 1 จุด  แบบ step control มีฟังชั่นตั้งเปิดปิด ไฟแสงสว่าง รวมถึงมีระบบ อลามอุณหภูมิสูง/ต่ำ ความชื้นสูง   และคู่มือที่เป็นภาษาไทยไว้ให้ฝึก เซทค่ากันเองด้วย  
 
 

 ปั๊มน้ำและถังเก็บน้ำ (Water Pump And Storage Tank)

 
1)ปั๊มน้ำ ถ้าระบบโรงเรือนอีแว๊ป จะใช้เป็นแบบปั๊มหอยโข่ง  1/2 hp - 2hp ควบคุมผ่านตู้คอนโทรลปั๊มน้ำหรือ Temperature controller อีกที หลักการเลือกขนาดปั๊มน้ำคูลลิ่งแพด เราต้อง รู้ Flow น้ำที่ใช้ก่อน รวมถึงระยะส่งและดูด รวมถึงขนาดท่อที่จะใช้ ซึ่งทางบริษัทเราก็รับออกแบบระบบให้เหมาะกับปั๊มที่จะใช้ รายละเอียดแนะนำให้โทรคุยครับ อันนี้ถือว่ายาวพอสมควร 

2) ถังเก็บน้ำ สิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือ ควรจะต้องเป็น ถังฝังดิน และต้องมี ฝาปิดสนิท ทึบแสงจะดีมาก เพื่อป้องกันตะไคร้น้ําเกินขึ้นในระบบ เพราะตะไคร้น้ําจะส่งผลต่ออายุการใช้งานของคูลลิ่งแพดโดยตรง ซึ่งก็คือ มันจะทำให้คูลลิ่งแพด ตันนั้นเอง ทางที่ดี ควรมีการล้างถังบ้างในช่วงระยะเวลาที่เราไม่ใช้ระบบอีแวป เป็นการ PM ไปในตัว นะครับ  ส่วนขนาดถังเก็บน้ำ ผมจะคำนวณจากการใช้น้ำของปั๊มน้ำ มันจะสัมพันธ์กับขนาดถังครับ อันนี้ก็แนะนำให้โทรคุยกันนะครับ 

 
-การหาขนาดจำนวนพัดลม(แบบเร่งด่วน)
 
หลักการคำนวนง่ายๆ ให้เริ่มจาก 
1) กำหนดขนาดห้อง  กว้าง x ยาว x สูง  = ปริมาตรห้อง (Cum)
2) เลือกด้านที่จะติด Cooling pad และพัดลม โดยที่ด้านที่ติดตั้ง Cooling pad ไม่ควรอยู่ในทิศตะวันตก 
3) คิดค่าถ่ายเทอากาศ ACH ถ้าภายในมีเรื่องของโหลดความร้อนเช่นเครื่องจักร ให้เพิ่มไปอีก20-30%
4) เอาปริมาตรห้อง x จำนวน ACH = flow rate พัดลม Cum/hr 

-ส่วนเรื่องความเร็วลม ค่าความเร็วที่ใช้ในการออกแบบคือ 2-3 m/s หน้าคูลลิ่งแพด 
 
-ปั๊มน้ำควรเลือกขนาด Flow rate อัตราการไหล และ h pump ให้พอเหมาะตามจำนวนของก้อนคูลลิ่งแพด

-ชุดระบบ Controller ถ้าเป็นโรงเรือนระบบเล็กๆ พัดลมไม่เกิน 2-3ตัว แนะนำให้ใช้  timer ในการควบคุม ร่วมกับ แม็กเนติก -โอเวอร์โหลด จะเหมาะกว่าการใช้ Temp Controller เพราะจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงไม่เหมาะแก่ผู้เริ่มต้น
 
-ถังเก็บน้ำควรเป็นแบบฝังดิน หรือ ต้องวางได้ต่ำกว่ารางคูลลิ่งแพดด้านล่างเพื่อให้น้ำสามารถไหลกลับแท็งค์ได้  

เรื่องการคำนวนแบบละเอียดให้โทรสอบถามได้ ที่เบอร์  086-4406919 ผมวสุ จะให้คำตอบและคำแนะนำตามลักษณะงานที่จะใช้ครับ 

สามารถดูสินค้า ทั้ง 5 สาขาทั่วประเทศ
นนทบุรี / โคราช / ร้อยเอ็ด / ลำพูน / สุราษฎร์ธานี

กดเพื่อดูแผนที่ >> คลิ๊ก
Visitors: 664,252